Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the woocommerce-stock-manager domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home/covermatst/domains/merrycare.co/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the uncanny-automator domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home/covermatst/domains/merrycare.co/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the rocket domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home/covermatst/domains/merrycare.co/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114
4 วิธีป้องกัน “รองเท้ากัด” ให้อยู่หมัดโดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็น ให้กวนใจ

Merry's Care

ซื้อครบ 500 บาท
ส่งฟรี

4 วิธีป้องกัน “รองเท้ากัด” ให้อยู่หมัดโดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็น

แชร์

รองเท้ากัด, แผลรองเท้ากัด,

รองเท้ากัด ปัญหากวนใจของใครหลายๆคน โดยเฉพาะสาวๆ ที่ต้องใส่รองเท้าส้นสูง คัทชู เเบบรัดเเน่น จนสร้างปัญหาไม่รู้จบ เเถมในบ้างครั้งยังทิ้งรอยแผลเป็นไว้เตือนใจอีกต่างหาก

รู้หรือไม่ว่า ปัญหารองเท้ากัด เกิดจากที่ผิวหนังบริเวณเท้าของเรานั้นเสียดสีกับรองเท้า จึงส่งผลให้มีอาการเจ็บปวดเท้า เป็นแผล หรือเรียกว่า รองเท้ากัดนั่นเอง

[read more]

วิธีป้องกัน ปัญหารองเท้ากัด 

วิธีการป้องกันรองเท้ากัด ที่ง่ายที่สุดคือ การเลือกซื้อรองเท้าที่พอดีกับรูปร่างเท้า หากมีรองเท้าที่สวมใส่เเล้วทำให้รองเท้ากัด ก็ให้หลีกเลี่ยง อย่าสวมรองเท้าเป็นอันขาด เเต่ถ้ารองเท้าคู่นั้น เป็นรองเท้าคู่ใจ เลิกที่จะสวมรองเท้าไม่ได้ เรามีคำแนะนำดีๆมาบอกกัน

  1. พยายามหาวัสดุ เพื่อลดแรงเสียดทาน  เป็นขั้นตอนแรกสุด เพราะ การลดแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างรองเท้าและเท้าจะช่วยป้องกันไม่ให้รองเท้ากัดได้  เช่น
  • สวมถุงเท้า เปรียบเสมืนมีเกราะรองนุ่ม ๆ ระหว่างเท้ากับรองเท้าได้
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันนิ้วเท้า หรือฝาครอบนิ้วเท้า เพื่อช่วยลดกันกระแทกนิ้วเท้าจากรองเท้า และป้องกันการเสียดสีได้
  • ใส่แผ่นรองเท้า หรือพื้นรองเท้า ช่วยป้องกันรอยขีดข่วนในบริเวณต่าง ๆ เช่น ส้นเท้า
  • ติดเทปกระดาษ หรือ พลาสเตอร์  ในการศึกษาปี 2016 ในนักวิ่งอัลตร้ามาราธอน พบว่า การใช้เทปกระดาษ หรือพลาสเตอร์ สามารถช่วยป้องกันการเกิดตุ่มพองได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

สามารถสั่งซื้อสินค้าได้คลิก  แคร์ลีฟ พลาสเตอร์ปิดแผลสำหรับส้นเท้า CARELEAVES™ Heel type

  1. ทำให้รองเท้ามีความสบายขึ้น ขั้นตอนที่สอง คือการพยายามทำให้รองเท้ามีความสบายขึ้น เพราะรองเท้าใหม่อาจทำให้สามารถเจ็บเท้าได้ รองเท้าบางคู่จำเป็นต้องใส่ 2-3 ครั้งเพื่อลดการเสียดสี เเละเเรงเสียดทาน เช่น
  • ยืด ใช้เครื่องขัดรองเท้าที่ทำจากไม้ หรือพลาสติก ยืดรองเท้าที่มีปัญหา 
  • ทาน้ำมัน  เช่น น้ำมันมะพร้าวหรือ น้ำมันมะกอก ทาบริเวณขอบรองเท้าหนังที่ทำให้เกิดแผลรองเท้ากัด หลังจากผ่านไป 2-3วัน รองเท้าจะมีความนุ่มและสึกกร่อนน้อยลง หรือจะลองใช้ครีมนวดผมแทนน้ำมันก็ได้นะ
  • ลองสวมรองเท้าด้วยถุงเท้า สวมถุงเท้าหนากับรองเท้า จากนั้นใช้ไดร์เป่าผมเป่าให้ร้อนในบริเวณที่แคบเป็นเวลาประมาณ 30 วินาที เดินไปรอบๆ ในขณะที่วัสดุรองเท้ายังอุ่นและยืดหยุ่นได้  แล้วถอดถุงเท้า ลองสวมออีกครั้ง
  • จุ่มลงน้ำ วิธีนี้ใช้ได้ดีกับรองเท้าแตะประเภทรัดส้น ใส่รองเท้าแตะแล้วจุ่มเท้าลงในถังน้ำ เช็ดออก แล้วเดินไปรอบๆ สัก 2-3 ชั่วโมง 
ปัญหารองเท้ากัด ป้องกันได้ด้วยการแปะเทป หรือพลาสเตอร์

วิธีการรักษา รองเท้ากัด

  1. อย่าสวมรองเท้าที่เสียดสี หากปัญหารองเท้ากัด จนทำให้เกิดแผลตุ่มพอง พยายามอย่าสวมรองเท้าที่ทำให้เกิดปัญหารองเท้ากัด จนกว่าตุ่มพองจะหาย หรือเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ควรใช้ผ้าพันแผลแปะ เพื่อรักษาความสะอาด

นอกจากนี้เเล้วการเลือกใช้พลาสเตอร์ หรือผ้าผันเเผล ที่มีคุณสมบัติของ ไฮโดรคอลลอยด์ จะสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อ เเละป้องกันการเกิดแผลเป็นได้

สามารถสั่งซื้อสินค้าได้คลิก ไฮโดรคอลลอยด์ ฟิล์มปิดแผลกันน้ำ CARELEAVES™

  1. แต้มน้ำผึ้ง ในบริเวณแผล เพราะน้ำผึ้งมีคุณสมบัติต้านไวรัส และการอักเสบ
  • ทาเจลว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้ มีคุณสมบัติในการรักษาและต้านการอักเสบ
  • ใช้ปิโตรเลียมเจลลี่ เพราะคุณสมบัติของปิโตรเลียมเจลลี่ ช่วยซ่อมแซมและมีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียได้

อย่างไรก็ตาม หากไม่อย่างต้องทนกังวลใจกับปัญหารองเท้ากัด พยายามหลีกเลี่ยงรองเท้าเจ้าปัญหา หรือแนะนำให้เลือกใช้พลาสเตอร์ปิดแผล หรือฟิล์มปิดเเผลชนิดไฮโดรคอลอยด์ เพื่อป้องกันการเกิดรอยแผลเป็น

อ่านบทความเพิ่มเติม

พลาสเตอร์ปิดแผล เทปปิดแผล เลือกอย่างไรดี

แคร์ลีฟ พลาสเตอร์ปิดแผล CARELEAVES™

[/read]