Covermat Store

ซื้อครบ 500 บาท
ส่งฟรี

พลาสเตอร์ปิดแผล เทปปิดแผล เลือกอย่างไรดี

แชร์

พลาสเตอร์แปะแผล, พลาสเตอร์

ปัจจุบันพลาสเตอร์ปิดแผล  เทปปิดแผล หรือ ฟิล์มปิดแผล มีให้เลือกหลากหลายวัสดุ และรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการใช้งานและลักษณะแผลที่เกิดขึ้นในร่างกาย เมื่อมีให้เลือกหลายรูปแบบ แล้วควรเลือกอย่างไรดี คำถามนี้ยังเป็นคำถามของไรหลายๆคน

ดังนั้นก่อนจะเลือกวัสดุ หรือ พลาสเตอร์ปิดแผล ที่เหมาะสมมาปิดแผลนั้น สิ่งสำคัญอันดับเเรก เราจำเป็นต้องประเมินลักษณะของแผลเป็นอันดับเเรก โดยเฉพาะหากเป็นแผลสด แผลเรื้อรัง ควรมีการดูแลรักษาความสะอาดของแผล เพื่อป้องกันแผลติดเชื้อ

[read more]

การเลือกใช้ว้สดุปิดแผล (Wound dressing) ในพลาสเตอร์ปิดแผล หรือเทปปิดแผล

การเลือกใช้วัสดุปิดแผล พลาสเตอร์ปิดแผล เทปปิดแปล ที่เหมาะสมจะช่วยให้การหายของแผลเร็วข้ึน โดยต้องมีคุณลักษณะ ที่ไม่ไปรบกวนกระบวนการหายของแผล ไม่ทำให้ติดแผล หรือทำให้แผลแห้ง ดังนี้

  • สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซผ่านวัสดุได้ปริมาณของออกซิเจนต่ำ จะทำให้การหายของแผลช้าลง
  • วัสดุจะต้องช่วยรักษาความชุ่มชื้นของบาดแผล
  • ช่วยรักษาอุณหภูมิของบาดแผลให้มีความใกล้คียงกับอุณหภูมิของร่างกาย  โดยการป้องกันการระเหยของน้ำ และสิ่งคัดหลั่งท่ีอยู่บนบาดแผล
  • ต้องไม่ยอมใหเชื้อโรคจากภายนอกเข้า สู่บาดแผล และเชื้อโรคในบาดแผลไม่สามารถแพร่กระจายออกสู่ภายนอกได้
  • มีความสามารถดูดซับสิ่งคัดหลั่งได้ดี ราคาไม่แพง ท่ีสำคัญ ควรมองเห็นแผลเพื่อการประเมินการ เปลี่ยนแปลงแผลได้
พลาสเตอร์แปะแผล

ชนิดวัสดุปิดแผล ในพลาสเตอร์ปิดแผล หรือเทปปิดแผล

  1. ผ้าก้อส (Gauze dressing ) ทำจากฝ้าย และใยสังเคราะห์ คุณสมบติท่ีใช้เพื่อการ Debride  หรือเล็มตัดเเต่งแผล แต่ข้อเสียของผ้าก้อส คือความสามารถในการดูดซับน้อย ต้องเปลี่ยนแผลบ่อย และถ้าเปียกชื้นมาก จะมีโอกาสทำให้สิ่งสกปรก หรือเชื้อโรคเข้าสู่บาดแผลได้
  2. แผ่นฟิล์มปิดแผลชนิด Semi- permeable films ลักษณะเป็นฟิล์มโปร่งใส ก๊าซซึมผ่านได้ และไอน้ำ สามารถระเหยจากแผลออกมาภายนอกได้เหมาะท่ีจะใชกับ บาดแผลที่ตื้น ถลอก แผลที่หายใหม่ หรือแผลที่ต้องการ การกำจัดเนื้อตายออก (Autolytic Debridement)
  3. Low- Adherent Dressing ได้แก่ ผลิตภัณฑ์วัสดุชนิดไม่ติดแผล ใช้กับแผลท่ีมีส่ิงคัดหลั่งน้อย แผลท่ีผิวหนังหลุดลอกง่าย หรือแผลใกล้หาย เป็นต้น 
  4. Hydrogel มีส่วนประกอบของน้ำ เป็นส่วนใหญ่ คุณสมบัติให้ควาามชุ่มชื้น ถ้าใช้ในส่วนแผลท่ีมีเน้ือตายจะ ทำให้อ่อนตัวลง และหลุดออกจากแผลไดง่ายข้ึน
  5. แผ่นแปะแผล หรือฟิล์มปิดแผล ชนิด Hydrocolloid นอกจากทำให้ ผลชุ่มชื้นแล้ว ยังมีคุณสมบัติองการดูดซับได้ดี 
สั่งซื้อสินค้าคลิก ไฮโดรคอลลอยด์ฟิล์มปิดแผลกันน้ำ CARELEAVES™
  1. Alginate dressings ทำมาจากส่วนประกอบสาหร่ายทะเล ความสามารถดูดซึม สิ่งคัด หลั่ง ได้ค่อนข้างดี ใช้ในการห้ามเลือด นอกจากน้ี ส่วนผสมบางอย่างเช่น Collagen หรือ Cacium Alginate จะช่วย เร่งการหายของ บาดแผลได้
  2. Non-adhesive-semi-permeable polyurethane Form Dressing เป็นแผ่นโฟมชนิดไม่มีกาว สามารถใหก้าซหรือไอน้ำผ่านได้ เเต่แชื้อโรค และน้ำผ่านไม่ได้ มีความสามารถการดูดซับได้สูง ไม่ไหลย้อนกลับออก ภายนอกไม่ทำให้ผิวหนัง รอบแผลเปื่อยยุ่ย  
สั่งซื้อสินค้าคลิก เทปยึดแผลหลังตัดไหม Atless Care และ ฟิล์มปิดแผลกันน้ำ AIRWALL FUWARI และ ฟิล์มปิดแผลกันน้ำ ชนิดมีผ้าก๊อซในตัว CATHEREEPLUS PAD

สรุปการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับปิดแผล พลาสเตอร์ปิดแผล  หรือฟิล์มปิดแผล เเต่ละชนิดต้องเข้าใจเเละประเมินบาดแผลอย่างถูกต้องเเละเหมาะสม

นอกจากน้ียังจำเป็นต้องติดตามประเมินการเปลี่ยนแปลงของแผลเป็นระยะ หากมีการเปลี่ยนแปลง จำเป็นจะต้องรีบเปิดดูบาดแผลทันที และนอกจากน้ีการเลือกใชผลิตภัณฑ์ยังต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยด้วย

อ้างอิง

ธีรนุช อินทร์ทองน้อย. How to select approach wound Dressing. คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

อ่านบทความเพิ่มเติม

แคร์ลีฟ พลาสเตอร์ปิดแผล CARELEAVES™

แคร์ลีฟ พลาสเตอร์ปิดแผลกันน้ำ CARELEAVES™ Waterproof

[/read]