หลายคนกำลังมองหา พลาสเตอร์ปิดแผล ที่มีคุณสมบัติสามารถกันน้ำได้ดี และป้องกันแผลเกิดการติดเชื้อได้ เเละเมื่อต้องอาบน้ำ หรือแผลโดนน้ำ ก็มั่นใจได้ว่าแผลไม่มีความชื้น เเละแห้งตลอดเวลา สามารถป้องกันการติดเชื้อได้
นอกจากเลือกซื้อ พลาสเตอร์กันน้ำเเล้ว การเลือกพลาสเตอร์ปิดแผลที่ดีนั้น อาจจำเป็นต้องคำนึง คุณสมบัติอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย เช่น เลือกพลาสตอร์ปิดแผล ต้องมีขนาดพอเหมาะกับขนาดของแผลขนาดความลึกของแผล เพราะพลาสเตอร์นั้นอาจเหมาะกับการใช้งานลักษณะของแผลไม่ลึก หรือใหญ่มาก
[read more]
ข้อมูลจากวารสาร Srinagarind Med J ได้แนะนำวิธีการเลือกพลาสเตอร์ปิดแผลที่ดี จำเป็นต้องมี คุณสมบัติของวัสดุปิดแผล ดังต่อไปนี้
1.สามารถดูดซึม และเก็บกักสารคัดหลั่งที่ออกมาจากแผลได้
2.ไม่มีสารตกค้างอยู่ภายในแผล
3.น้ําสามารถซึมผ่านออกมาได้
4.เป็นฉนวนกันความร้อน
5.ไม่ทําให้เกิดการบาดเจ็บ เมื่อทําการเปลี่ยน
6.ไม่ต้องเปลี่ยนแผลบ่อย
7.ลดความเจ็บปวดได้
8. แปะเเล้วรู้สึกสบาย
9.ไม่ระคายเคืองผิวหนัง
10.กระตุ้นการหายของบาดแผล
พลาสเตอร์ปิดแผล ที่ดีที่สุด และอยากแนะนำ
1.พลาสเตอร์ CATHEREEPLUS PAD (Dressing Film)
เป็นพลาสเตอร์ ในรูปแบบแผ่นฟิล์มบางใส มีผ้าก๊อซแผ่นซึมซับ สามารถป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่บริเวณบาดแผลได้
Recommend แผลกดทับ แผลเบาหวาน แผลเรื้อรัง แผลที่ต้องการป้องกันเชื้อโรค
อีกหนึ่งพลาสเตอร์ รูปแบบฟิล์มปิดแผล ใช้คลุมผ้าก๊อซ มีคุณสมบัติ ระบายอากาศได้ดี ยึดติดแน่น ไม่มีหลุด และอ่อนโยนต่อผิว ไม่เกิดอาการแพ้ หรือระคายเคือง
Recommend แผลกดทับ แผลล้างไต แผลผ่าตัดหน้าอก
3. พลาสเตอร์กันน้ำ ยี่ห้อ Atless Care
เป็นลักษณะพลาสเตอร์ รูปแบบของ เทปยึดแผล สำหรับแผลหลังตัดไหม หรือผ่าตัด ใช้แปะเพื่อป้องกันแผลปริแยก การเกิดรอยแผลเป็น คีลอยด์ และมีคุณสมบัติอ่อนโยนต่อผิว ไม่เกิดอาการระคายเคือง
Recommend แผลผ่าตัด ผ่าคลอด แผลหลังตัดไหม
4. พลาสเตอร์กันน้ำ ยี่ห้อ CARELEAVES
มีลักษณะเป็นฟิล์มปิดแผล ชนิดไฮโดรคอลลอยด์ มีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการปวด ช่วยรักษาความชุ่มชื้นของผิว เเละระบายอากาศได้ดี
Recommend แผลมีดบาด แผลถลอก น้ำร้อนลวก รองเท้ากัด
อย่างไรก็ดี การเลือกพลาสเตอร์กันน้ำ สำหรับปิดแผลยี่ห้อไหนดีนั้น อาจจำเป็นต้องคำนึงถึงคุณสมบัติ ของแผ่นพลาสเตอร์ที่สามารถดูดซึม และเก็บกักสารคัดหลั่งที่ออกมาจากแผล โดยไม่มีสารตกค้างอยู่ภายในแผล ช่วยบรรเทาความเจ็บปวด กระตุ้นการหายของแผลได้ และไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย ก็จะเพิ่มความมั่นใจและปลอดภัยในปิดแผลมากขึ้น
อ่านบทความเพิ่มเติม
พลาสเตอร์ปิดแผล เทปปิดแผล เลือกอย่างไรดี
วิธีดูแลแผลผ่าคลอด ลดแผลเป็นนูนคีลอยด์ สำหรับคุณเเม่มือใหม่
4 วิธีป้องกัน “รองเท้ากัด” ให้อยู่หมัดโดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็น
[/read]