Merry's Care

ซื้อครบ 500 บาท
ส่งฟรี

4 วิธีป้องกัน “รองเท้ากัด” ให้อยู่หมัดโดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็น

แชร์

รองเท้ากัด, แผลรองเท้ากัด,

รองเท้ากัด ปัญหากวนใจของใครหลายๆคน โดยเฉพาะสาวๆ ที่ต้องใส่รองเท้าส้นสูง คัทชู เเบบรัดเเน่น จนสร้างปัญหาไม่รู้จบ เเถมในบ้างครั้งยังทิ้งรอยแผลเป็นไว้เตือนใจอีกต่างหาก

รู้หรือไม่ว่า ปัญหารองเท้ากัด เกิดจากที่ผิวหนังบริเวณเท้าของเรานั้นเสียดสีกับรองเท้า จึงส่งผลให้มีอาการเจ็บปวดเท้า เป็นแผล หรือเรียกว่า รองเท้ากัดนั่นเอง

[read more]

วิธีป้องกัน ปัญหารองเท้ากัด 

วิธีการป้องกันรองเท้ากัด ที่ง่ายที่สุดคือ การเลือกซื้อรองเท้าที่พอดีกับรูปร่างเท้า หากมีรองเท้าที่สวมใส่เเล้วทำให้รองเท้ากัด ก็ให้หลีกเลี่ยง อย่าสวมรองเท้าเป็นอันขาด เเต่ถ้ารองเท้าคู่นั้น เป็นรองเท้าคู่ใจ เลิกที่จะสวมรองเท้าไม่ได้ เรามีคำแนะนำดีๆมาบอกกัน

  1. พยายามหาวัสดุ เพื่อลดแรงเสียดทาน  เป็นขั้นตอนแรกสุด เพราะ การลดแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างรองเท้าและเท้าจะช่วยป้องกันไม่ให้รองเท้ากัดได้  เช่น
  • สวมถุงเท้า เปรียบเสมืนมีเกราะรองนุ่ม ๆ ระหว่างเท้ากับรองเท้าได้
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันนิ้วเท้า หรือฝาครอบนิ้วเท้า เพื่อช่วยลดกันกระแทกนิ้วเท้าจากรองเท้า และป้องกันการเสียดสีได้
  • ใส่แผ่นรองเท้า หรือพื้นรองเท้า ช่วยป้องกันรอยขีดข่วนในบริเวณต่าง ๆ เช่น ส้นเท้า
  • ติดเทปกระดาษ หรือ พลาสเตอร์  ในการศึกษาปี 2016 ในนักวิ่งอัลตร้ามาราธอน พบว่า การใช้เทปกระดาษ หรือพลาสเตอร์ สามารถช่วยป้องกันการเกิดตุ่มพองได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

สามารถสั่งซื้อสินค้าได้คลิก  แคร์ลีฟ พลาสเตอร์ปิดแผลสำหรับส้นเท้า CARELEAVES™ Heel type

  1. ทำให้รองเท้ามีความสบายขึ้น ขั้นตอนที่สอง คือการพยายามทำให้รองเท้ามีความสบายขึ้น เพราะรองเท้าใหม่อาจทำให้สามารถเจ็บเท้าได้ รองเท้าบางคู่จำเป็นต้องใส่ 2-3 ครั้งเพื่อลดการเสียดสี เเละเเรงเสียดทาน เช่น
  • ยืด ใช้เครื่องขัดรองเท้าที่ทำจากไม้ หรือพลาสติก ยืดรองเท้าที่มีปัญหา 
  • ทาน้ำมัน  เช่น น้ำมันมะพร้าวหรือ น้ำมันมะกอก ทาบริเวณขอบรองเท้าหนังที่ทำให้เกิดแผลรองเท้ากัด หลังจากผ่านไป 2-3วัน รองเท้าจะมีความนุ่มและสึกกร่อนน้อยลง หรือจะลองใช้ครีมนวดผมแทนน้ำมันก็ได้นะ
  • ลองสวมรองเท้าด้วยถุงเท้า สวมถุงเท้าหนากับรองเท้า จากนั้นใช้ไดร์เป่าผมเป่าให้ร้อนในบริเวณที่แคบเป็นเวลาประมาณ 30 วินาที เดินไปรอบๆ ในขณะที่วัสดุรองเท้ายังอุ่นและยืดหยุ่นได้  แล้วถอดถุงเท้า ลองสวมออีกครั้ง
  • จุ่มลงน้ำ วิธีนี้ใช้ได้ดีกับรองเท้าแตะประเภทรัดส้น ใส่รองเท้าแตะแล้วจุ่มเท้าลงในถังน้ำ เช็ดออก แล้วเดินไปรอบๆ สัก 2-3 ชั่วโมง 
ปัญหารองเท้ากัด ป้องกันได้ด้วยการแปะเทป หรือพลาสเตอร์

วิธีการรักษา รองเท้ากัด

  1. อย่าสวมรองเท้าที่เสียดสี หากปัญหารองเท้ากัด จนทำให้เกิดแผลตุ่มพอง พยายามอย่าสวมรองเท้าที่ทำให้เกิดปัญหารองเท้ากัด จนกว่าตุ่มพองจะหาย หรือเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ควรใช้ผ้าพันแผลแปะ เพื่อรักษาความสะอาด

นอกจากนี้เเล้วการเลือกใช้พลาสเตอร์ หรือผ้าผันเเผล ที่มีคุณสมบัติของ ไฮโดรคอลลอยด์ จะสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อ เเละป้องกันการเกิดแผลเป็นได้

สามารถสั่งซื้อสินค้าได้คลิก ไฮโดรคอลลอยด์ ฟิล์มปิดแผลกันน้ำ CARELEAVES™

  1. แต้มน้ำผึ้ง ในบริเวณแผล เพราะน้ำผึ้งมีคุณสมบัติต้านไวรัส และการอักเสบ
  • ทาเจลว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้ มีคุณสมบัติในการรักษาและต้านการอักเสบ
  • ใช้ปิโตรเลียมเจลลี่ เพราะคุณสมบัติของปิโตรเลียมเจลลี่ ช่วยซ่อมแซมและมีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียได้

อย่างไรก็ตาม หากไม่อย่างต้องทนกังวลใจกับปัญหารองเท้ากัด พยายามหลีกเลี่ยงรองเท้าเจ้าปัญหา หรือแนะนำให้เลือกใช้พลาสเตอร์ปิดแผล หรือฟิล์มปิดเเผลชนิดไฮโดรคอลอยด์ เพื่อป้องกันการเกิดรอยแผลเป็น

อ่านบทความเพิ่มเติม

พลาสเตอร์ปิดแผล เทปปิดแผล เลือกอย่างไรดี

แคร์ลีฟ พลาสเตอร์ปิดแผล CARELEAVES™

[/read]